Author Archives: Panat Nisityotakul

การสะกิดนิ้วล็อคด้วยเข็ม Ultrasound guided-release trigger finger 

Trigger finger (นิ้วล็อค) คือภาวะที่เส้นเอ็นในนิ้วมือเกิดการอักเสบ ทำให้การเคลื่อนไหวของนิ้วติดขัดหรือล็อคอยู่ในตำแหน่งงอ เมื่อพยายามเหยียดนิ้วมักเกิดอาการสะดุดหรือเจ็บ ซึ่งเกิดจากการที่เส้นเอ็นไม่สามารถเคลื่อนผ่านปลอกหุ้มเส้นเอ็นได้อย่างราบรื่น มักพบได้บ่อยในผู้ที่ใช้นิ้วมืออย่างซ้ำ ๆ เช่น การจับของหนักหรือพิมพ์งานมาก การรักษาเริ่มจากการพัก การใช้ยาต้านการอักเสบ และในบางกรณีอาจต้องฉีดยาหรือผ่าตัด ในภาพนี้แสดงขั้นตอนการฉีดยารักษานิ้วล็อค (Trigger Finger) โดยใช้การนำทางด้วยอัลตราซาวด์ (Ultrasound-guided). ผู้ปฏิบัติงานสวมถุงมือและใช้อุปกรณ์อัลตราซาวด์เพื่อระบุตำแหน่งของเส้นเอ็นที่อักเสบในนิ้วมือ จากนั้นจะทำการฉีดยาเข้าสู่บริเวณที่เกิดการอักเสบหรือปลอกหุ้มเส้นเอ็นเพื่อบรรเทาอาการปวดและลดการอักเสบ วิธีนี้ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการรักษาและลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บ ในภาพนี้เป็นเข็มที่ใช้สำหรับการรักษาอาการนิ้วล็อค (Trigger Finger) โดยการนำทางด้วยอัลตราซาวด์ (Ultrasound-guided). เข็มที่มีลักษณะโค้งนี้จะถูกใช้ในการปลดปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่อักเสบอย่างแม่นยำ ช่วยบรรเทาอาการล็อคของนิ้วและลดความเจ็บปวด  วิดีโอนี้แสดงขั้นตอนการรักษาอาการ นิ้วล็อค โดยไม่ต้องผ่าตัด โดยใช้การสะกิดพังผืดภายในด้วยเข็มขนาดเล็ก ซึ่งช่วยบรรเทาอาการล็อคของนิ้วได้อย่างแม่นยำและมีแผลขนาดเล็ก ทำให้การฟื้นตัวของผู้ป่วยเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และสามารถกลับมาใช้งานนิ้วได้ตามปกติ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นี่ วิดีโอพูดถึงการติดตามอาการของผู้ป่วยหลังจากผ่านไป 1 สัปดาห์หลังจากทำ สะกิดนิ้วล็อค โดยไม่ต้องผ่าตัด แผลมีขนาดเล็ก การรักษาแม่นยำ และอาการปวดลดลงอย่างรวดเร็ว คุณสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่. แชร์บทความของเราสิ

เอกสารข้อมูลคำอธิบายสำหรับผู้รับการวิจัย
Information sheet for research participant

เรียน ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยทุกท่านท่านได้รับเชิญให้เข้าร่วมในโครงการวิจัยนี้เนื่องจากท่านเป็นโรคข้อไหล่ติดที่ไม่ตอบสนองต่อวิธีรักษาแบบดั้งเดิม ก่อนที่ท่านจะตัดสินใจเข้าร่วมในการศึกษาวิจัยดังกล่าว ขอให้ท่านอ่านเอกสารฉบับนี้อย่างถี่ถ้วน เพื่อให้ท่านได้ทราบถึงเหตุผลและรายละเอียดของการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ หากท่านมีข้อสงสัยใดๆ เพิ่มเติม กรุณาซักถามจากทีมงานของแพทย์ผู้ทำวิจัย หรือแพทย์ผู้ร่วมทำวิจัยซึ่งจะเป็นผู้สามารถตอบคำถามและให้ความกระจ่างแก่ท่านได้ท่านสามารถขอคำแนะนำในการเข้าร่วมโครงการวิจัยนี้จากครอบครัว เพื่อน หรือแพทย์ประจำตัวของท่านได้ ท่านมีเวลาอย่างเพียงพอในการตัดสินใจโดยอิสระ ถ้าท่านตัดสินใจแล้วว่าจะเข้าร่วมในโครงการวิจัยนี้ ขอให้ท่านลงนามในเอกสารแสดงความยินยอมของโครงการวิจัยนี้เหตุผลความเป็นมาเนื่องด้วยผู้ป่วยที่มีอาการข้อไหล่ติด ในปัจจุบันมีการรักษาหลายวิธี เช่น การฉีดสเตียรอยด์เข้าข้อ การรักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัด แต่ยังมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีข้างต้นแล้วไม่ได้ผล การรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ด้วยวิธีการรักษาชนิดใหม่ โดยการอุดหลอดเลือดขนาดเล็กระดับจุลภาค (Transarterial Microembolization)ผ่านทางสายสวนหลอดเลือดแดง โดยใช้ยา Imipenem/cilastatin ซึ่งยากลุ่มดังกล่าวเป็นยาปฏิชีวนะที่มีการใช้มาอย่างยาวนาน โดยมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่สามารถเป็นวัสดุอุดกั้นหลอดเลือด (embolic agent) ขนาดเล็กระดับจุลภาค (Micro) โดยวิธีการรักษาดังกล่าวจะทำร่วมกับการฉีดสเตียรอยด์เข้าที่ถุงน้ำกันเสียดสีใต้กระดูกอะโครเมียนที่เป็นการรักษาแบบเดิม ดังนั้นผู้ที่เข้าร่วมงานวิจัยนี้จะได้ประโยชน์จากวิธีการรักษาใหม่ร่วมกับการรักษาแบบเดิม เพื่อลดความเจ็บปวดเรื้อรัง ลดความทุพลภาพ และลดค่าใช้จ่ายสุขภาพองค์รวมของผู้ป่วย เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยข้อมูลจากการศึกษา เช่น อัตราความสำเร็จทางเทคนิค และผลลัพธ์ทางคลินิก ร่วมกับอัตราแทรกซ้อนของการรักษาดังกล่าว อาจช่วยปรับปรุงเทคนิคและส่งผลให้มีการปฏิบัติทางคลินิกที่ดีขึ้น วัตถุประสงค์ของการศึกษาวัตถุประสงค์หลักของการศึกษาในครั้งนี้คือ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการอุดหลอดเลือดขนาดเล็กระดับจุลภาคผ่านทางสายสวนหลอดเลือดแดง (Transaterial Microembolization) ร่วมกับ การฉีดสเตียรอยด์เข้าที่ถุงน้ำกันเสียดสีใต้กระดูกอะโครเมียน (Subacromial basal steroid injection) สำหรับโรคข้อไหล่ติดที่ไม่ตอบสนองต่อวิธีรักษาแบบดั้งเดิมยาที่จะใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีชื่อว่า อิมิเพเน็ม/ซิลาสแตติน (Imipenem/cilastatin) […]

Moya Moya

Moya-Moya หลอดเลือดงอกใหม่ผิดปกติ (Moya-Moya) คือ หลอดเลือดเกิดใหม่ขนาดเล็กที่มักพบในตำแหน่งที่มีอาการเจ็บปวด มีการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าในตำแหน่งที่มีการอักเสบเรื้อรัง จะมีหลอดเลือดเกิดขึ้นใหม่ขนาดเล็ก (Neovasculization)  เช่นในสภาวะของจอประสาทตาเสื่อม หรือในเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ เช่น เนื้องอก  เหตุใดหลอดเลือดผิดปกติเหล่านี้จึงทำให้มีอาการปวด? อันที่จริงเป็นหลักพื้นฐานของร่างกายมนุษย์ ที่หลอดเลือดมักจะเกิดไปพร้อมกับเส้นประสาท ดังนั้นในตำแหน่งที่มีหลอดเลือดขนาดเล็กงอกใหม่ผิดปกตินั้น จะมีเส้นประสาทขนาดเล็กงอกตามไปด้วย เป็นสาเหตุทำให้มีอาการเจ็บปวด โดยหลอดเลือดดังกล่าวมักจะพบในผู้ป่วยที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือในผู้ป่วยอายุน้อยที่มีการบาดเจ็บซ้ำๆ จากการทำงาน หรือการเล่นกีฬา หลอดเลือดงอกใหม่ผิดปกติเหล่านี้มักจะไม่หายไปด้วยการรักษาด้วยวิธีกินยา หรือการประคบเย็น การใส่สายสวนเพื่อรักษาภาวะหลอดเลือดงอกใหม่ผิดปกติ (Catheterization)             เป็นการรักษาที่ต้องทำในห้องเอ็กซเรย์หลอดเลือด โดยใช้สายสวนหลอดเลือดไปยังตำแหน่งที่มีอาการเจ็บปวด โดยแพทย์สามารถมองเห็นสายสวนเคลื่อนไปตามหลอดเลือดได้จากจอรับภาพจากเครื่องเอ็กซเรย์เมื่อสายสวนเคลื่อนไปยังจุดที่ต้องการ จะทำการฉีดสารทึบรังสีเพื่อดูพยาธิสภาพและลักษณะของเลือด เมื่อพบว่ามีหลอดเลือดงอกใหม่ผิดปกติ (Moya-Moya) แพทย์จะทำการอุดกั้นหลอดเลือดบริเวณนั้น ด้วยสารอุดหลอดเลือดขนาดเล็กขนาดประมาณ 50-100 ไมครอน โดยสายสวนดังกล่าวนั้นมีขนาดเพียง 0.7 มิลลิเมตรในส่วนปลาย และ 2.1 มิลลิเมตรในตำแหน่งที่สวนหลอดเลือด สารอุดหลอดเลือด (Embolic agent) ในปัจจุบันมีสารอุดหลอดเลือดหลายชนิด เเต่ชนิดที่ใช้เพื่อการอุดหลอดเลือดขนาดเล็กระดับจุลภาคนั้นคือ ยา Imipenam/Cilastatin, ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะที่มีการใช้มามากกว่า 30 ปี […]

TAME

Transarterial microembolization การอุดหลอดเลือดขนาดเล็กระดับจุลภาคผ่านทางสายสวนหลอดเลือดแดง เข้าไปสู่ตำแหน่งที่หลอดเลือดงอกใหม่ผิดปกติ (Moya-Moya) ในผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บปวดเรื้อรัง เช่น ภาวะข้อติด ปวดหลัง หรือปวดข้อต่างๆ มีผลทำให้ความเจ็บปวดและการอักเสบบริเวณนั้นลดลง เป็นการรักษาอีกหนึ่งทางเลือก ในผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีดั้งเดิม เช่น การกินยาแก้ปวด การกายภาพบำบัด หรือการฉีดสเตียรอยด์เข้าข้อเเล้วไม่ได้ผล. การฉีดสเตียรอดย์บริเวณตำแหน่งที่มีอาการเจ็บปวด เป็นหนึ่งในวิธีการลดอักเสบหรือเจ็บปวดเรื้อรัง แต่การอุดหลอดเลือดขนาดเล็กระดับจุลภาคผ่านทางสายสวน เป็นการรักษาที่เเตกต่างไปจากเดิม โดยวิธีนี้มักจะมุ่งเน้นไปยังตำแหน่งที่มีหลอดเลือดงอกใหม่ผิดปกติ (Moya-Moya) มีการศึกษาพบว่าในบางตำแหน่งของการรักษาสามารถลดอาการเจ็บปวดเรื้อรังได้ถึง 80% ของผู้ป่วย และไม่ได้เป็นเพียงลดการเจ็บปวดเพียงชั่วคราวเท่านั้น เเต่ยังเป็นลดอาการเจ็บปวดถาวรได้อีกด้วย  เริ่มต้นตั้งเเต่ปี 2007 ที่ญี่ปุ่น แพทย์ได้ทำการฉีดสีบริเวณที่มีก้อนหรือที่มีการอักเสบ แล้วได้พบเส้นเลือดที่ผิดปกติ เเล้วสงสัยว่าเส้นเลือดดังกล่าวเกิดมาได้อย่างไร เเล้วตอนนั้นเขาได้นิยามเส้นเลือดที่ผิดปกติเหล่านี้ว่า Moya-Moya จากการศึกษาต่อเรื่องหลอดเลือดที่ผิดปกติเหล่านี้ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร พบว่าในจอประสาทตาของหนูที่มีการอักเสบ ก็พบหลอดเลือดที่ผิดปกติแบบนี้เช่นเดียวกัน เช่นเดียวกับคนที่เป็นเบาหวานขึ้นตา ก็พบลักษณะหลอดเลือดที่งอกผิดปกติเหล่านี้เช่นเดียวกัน ซึ่งวิธีการรักษาคือใช้เเสงเลเซอร์ยิงจอประสาทตา หมอชาวญี่ปุ่น จึงได้เริ่มรักษาผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บบริเวณข้อเเละพบหลอดเลือดผิดปกติเหล่านี้ ด้วยการอุดหลอดเลือดขนาดเล็กดังกล่าว เเละเรียกหัตถการนี้ว่าTAME หรือ transarterial Microembolizationการอุดหลอดเลือดขนาดเล็กระดับจุลภาคผ่านทางสายสวนหลอดเลือดแดง ซึ่งเขาก็พบว่าหลังจากที่อุดหลอดเลือดดังกล่าวเเล้วผู้ป่วยมีอาการปวดดีขึ้น ใช้ยาแก้ปวดลดลงได้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับอัลตราซาวน์พบว่าในตำแหน่งที่มีการอักเสบ จะเห็นลักษณะของหลอดเลือดขนาดเล็กจำนวนมากจากการตรวจด้วย Doppler’s Ultrasound […]