Category Archives: Style

Moya Moya

Moya-Moya หลอดเลือดงอกใหม่ผิดปกติ (Moya-Moya) คือ หลอดเลือดเกิดใหม่ขนาดเล็กที่มักพบในตำแหน่งที่มีอาการเจ็บปวด มีการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าในตำแหน่งที่มีการอักเสบเรื้อรัง จะมีหลอดเลือดเกิดขึ้นใหม่ขนาดเล็ก (Neovasculization)  เช่นในสภาวะของจอประสาทตาเสื่อม หรือในเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ เช่น เนื้องอก  เหตุใดหลอดเลือดผิดปกติเหล่านี้จึงทำให้มีอาการปวด? อันที่จริงเป็นหลักพื้นฐานของร่างกายมนุษย์ ที่หลอดเลือดมักจะเกิดไปพร้อมกับเส้นประสาท ดังนั้นในตำแหน่งที่มีหลอดเลือดขนาดเล็กงอกใหม่ผิดปกตินั้น จะมีเส้นประสาทขนาดเล็กงอกตามไปด้วย เป็นสาเหตุทำให้มีอาการเจ็บปวด โดยหลอดเลือดดังกล่าวมักจะพบในผู้ป่วยที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือในผู้ป่วยอายุน้อยที่มีการบาดเจ็บซ้ำๆ จากการทำงาน หรือการเล่นกีฬา หลอดเลือดงอกใหม่ผิดปกติเหล่านี้มักจะไม่หายไปด้วยการรักษาด้วยวิธีกินยา หรือการประคบเย็น การใส่สายสวนเพื่อรักษาภาวะหลอดเลือดงอกใหม่ผิดปกติ (Catheterization)             เป็นการรักษาที่ต้องทำในห้องเอ็กซเรย์หลอดเลือด โดยใช้สายสวนหลอดเลือดไปยังตำแหน่งที่มีอาการเจ็บปวด โดยแพทย์สามารถมองเห็นสายสวนเคลื่อนไปตามหลอดเลือดได้จากจอรับภาพจากเครื่องเอ็กซเรย์เมื่อสายสวนเคลื่อนไปยังจุดที่ต้องการ จะทำการฉีดสารทึบรังสีเพื่อดูพยาธิสภาพและลักษณะของเลือด เมื่อพบว่ามีหลอดเลือดงอกใหม่ผิดปกติ (Moya-Moya) แพทย์จะทำการอุดกั้นหลอดเลือดบริเวณนั้น ด้วยสารอุดหลอดเลือดขนาดเล็กขนาดประมาณ 50-100 ไมครอน โดยสายสวนดังกล่าวนั้นมีขนาดเพียง 0.7 มิลลิเมตรในส่วนปลาย และ 2.1 มิลลิเมตรในตำแหน่งที่สวนหลอดเลือด สารอุดหลอดเลือด (Embolic agent) ในปัจจุบันมีสารอุดหลอดเลือดหลายชนิด เเต่ชนิดที่ใช้เพื่อการอุดหลอดเลือดขนาดเล็กระดับจุลภาคนั้นคือ ยา Imipenam/Cilastatin, ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะที่มีการใช้มามากกว่า 30 ปี […]

TAME

Transarterial microembolization การอุดหลอดเลือดขนาดเล็กระดับจุลภาคผ่านทางสายสวนหลอดเลือดแดง เข้าไปสู่ตำแหน่งที่หลอดเลือดงอกใหม่ผิดปกติ (Moya-Moya) ในผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บปวดเรื้อรัง เช่น ภาวะข้อติด ปวดหลัง หรือปวดข้อต่างๆ มีผลทำให้ความเจ็บปวดและการอักเสบบริเวณนั้นลดลง เป็นการรักษาอีกหนึ่งทางเลือก ในผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีดั้งเดิม เช่น การกินยาแก้ปวด การกายภาพบำบัด หรือการฉีดสเตียรอยด์เข้าข้อเเล้วไม่ได้ผล. การฉีดสเตียรอดย์บริเวณตำแหน่งที่มีอาการเจ็บปวด เป็นหนึ่งในวิธีการลดอักเสบหรือเจ็บปวดเรื้อรัง แต่การอุดหลอดเลือดขนาดเล็กระดับจุลภาคผ่านทางสายสวน เป็นการรักษาที่เเตกต่างไปจากเดิม โดยวิธีนี้มักจะมุ่งเน้นไปยังตำแหน่งที่มีหลอดเลือดงอกใหม่ผิดปกติ (Moya-Moya) มีการศึกษาพบว่าในบางตำแหน่งของการรักษาสามารถลดอาการเจ็บปวดเรื้อรังได้ถึง 80% ของผู้ป่วย และไม่ได้เป็นเพียงลดการเจ็บปวดเพียงชั่วคราวเท่านั้น เเต่ยังเป็นลดอาการเจ็บปวดถาวรได้อีกด้วย  เริ่มต้นตั้งเเต่ปี 2007 ที่ญี่ปุ่น แพทย์ได้ทำการฉีดสีบริเวณที่มีก้อนหรือที่มีการอักเสบ แล้วได้พบเส้นเลือดที่ผิดปกติ เเล้วสงสัยว่าเส้นเลือดดังกล่าวเกิดมาได้อย่างไร เเล้วตอนนั้นเขาได้นิยามเส้นเลือดที่ผิดปกติเหล่านี้ว่า Moya-Moya จากการศึกษาต่อเรื่องหลอดเลือดที่ผิดปกติเหล่านี้ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร พบว่าในจอประสาทตาของหนูที่มีการอักเสบ ก็พบหลอดเลือดที่ผิดปกติแบบนี้เช่นเดียวกัน เช่นเดียวกับคนที่เป็นเบาหวานขึ้นตา ก็พบลักษณะหลอดเลือดที่งอกผิดปกติเหล่านี้เช่นเดียวกัน ซึ่งวิธีการรักษาคือใช้เเสงเลเซอร์ยิงจอประสาทตา หมอชาวญี่ปุ่น จึงได้เริ่มรักษาผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บบริเวณข้อเเละพบหลอดเลือดผิดปกติเหล่านี้ ด้วยการอุดหลอดเลือดขนาดเล็กดังกล่าว เเละเรียกหัตถการนี้ว่าTAME หรือ transarterial Microembolizationการอุดหลอดเลือดขนาดเล็กระดับจุลภาคผ่านทางสายสวนหลอดเลือดแดง ซึ่งเขาก็พบว่าหลังจากที่อุดหลอดเลือดดังกล่าวเเล้วผู้ป่วยมีอาการปวดดีขึ้น ใช้ยาแก้ปวดลดลงได้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับอัลตราซาวน์พบว่าในตำแหน่งที่มีการอักเสบ จะเห็นลักษณะของหลอดเลือดขนาดเล็กจำนวนมากจากการตรวจด้วย Doppler’s Ultrasound […]